วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

CM Lighting LED T8 เรื่อง Power Factor (PF.)

Power Factor (PF.) หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่า "ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า" นั้นคือค่าตัวเลขอัตราส่วนของกำลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานจริง โดยสามารถอธิบายให้เข้าใจง่ายได้ว่า Power Factor คือตัวเลขที่บอกถึงกำลังงานไฟฟ้าที่ได้ใช้ประโยชน์หรือเกิดการทำงานจริงกับขนาดของกำลังงานทั้งหมดที่ต้องการจากระบบไฟฟ้าโดยส่วนที่เกินจากกำลังงานที่ใช้ทำงานจริงจะเรียกว่า Reactive Power ซึ่งมีหน่วยเป็น วาร์ (VAR) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม อาคารขนาดใหญ่หรือผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ไฟฟ้าระบบ 3 เฟสที่มีการใช้กำลังงานมากกว่า 30 kW ขึ้นไปในบิลเรียกเก็บค่าไฟฟ้าที่ได้รับในแต่ละเดือนก็จะมีการเรียกเก็บค่ากำลังงานรีแอคทีฟ (kVar) ในส่วนที่เกิน 61.97% ของค่าความต้องการกำลังงานแอคทีฟเฉลี่ยสูงสุด 15 นาที หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่าค่าปรับเพาเวอร์แฟคเตอร์ (Power Factor: PF.) 

ซึ่งในปัจจุบัน (ตั้งแต่ กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา) มีการเรียกเก็บในอัตรา 56.07 บาท/kVar โดยทางการไฟฟ้าเองก็มีนโยบายหรือต้องการให้ผู้ใช้ไฟฟ้าปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้มีค่าตัวประกอบกำลัง เพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) > 0.85 เพื่อที่จะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้งานระบบส่งจ่ายอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ด้วยเหตุนี้เองผู้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่ต้องการจะเสียค่าปรับค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) นี้หรือต้องการให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของตนเองดีขึ้น ก็จำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ของตนเองให้มีค่ามากกว่า 0.85 ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเสียค่าปรับเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) 

“ที่ให้ค่า (PF.) > 0.95 ที่สูงและมีประสิทธิภาพ ยิ่งใช้งาน หลอด LED T8 มากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ดีขึ้น อันเป็นผลให้ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของตนเองลดลง และเป็นการประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าโดยรวมของประเทศได้”
Banner_t8#cmlighting #Led #Civicmedia #ledt8 #PowerFactor 
*************************************************************
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
Hotline T: 0-2688-0860 Ext.124
E-mail: marketing@civicmedia.com , sales@civicmedia.com
Web: http://www.civicmedia.com/
Facebook : www.facebook.com/civicmedia ,www.facebook.com/cmlighting
Line : ledmarketing

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

ประเภทของแสงหลอดไฟ LED

ประเภทของแสงหลอดไฟ LED

การเลือกซื้อหลอดไฟ LED นอกจากคุณภาพของหลอดแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การเลือกโทนสีของแสงจากหลอด LED เพราะมันจะไปมีผลกับอารมณ์ที่เราจะได้จากแสงนั้น ด้วยหลอด LED ที่เราซื้อไปนั้นจะให้แสงแบบไหน เหมาะกับการใช้งานของเรารึป่าว ถ้าใครไม่แน่ใจว่าแสงไฟมีผลกับอารมณ์ และการใช้งานอย่างไรโดยโทนสีหลักๆ แล้วจะแบ่งเป็น 3 โทนสี ไล่ตามอุณหภูมิสี โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. วอร์มไวท์ (Warm White) ให้โทนแสงนวลตา เป็นสีโทนอุ่น ให้ความสว่างไม่มากนัก ออกสีทองส้ม เหมาะกับการใช้เพื่อประดับตกแต่งมากกว่าเน้นการมองเห็น ประยุกต์ใช้ร่วมกับการจัดสวนได้ดี แสงวอร์มไวท์ จะสะท้อนกับวัสดุให้แสงสีทอง ทำให้บริเวณพื้นที่ดูงดงามขึ้นมาทันตาเห็น หากนำไปใช้ตกแต่งภายใน เหมาะกับแสงภายในห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือห้องที่ใช้ในการพักผ่อน ไม่เพียงแค่สร้างความอบอุ่นเท่านั้น แต่แสงชนิดวอร์มไวท์ ยังให้ความรู้สึกโรแมนติก ผ่อนคลายอีกด้วยนะ สถานที่พักต่างๆ จึงนิยมใช้หลอดไฟชนิดนี้มาตกแต่งกัน

2. เดย์ไลท์ (Day Light) โทนแสงสว่างตา เป็นโทนแสงเดียวกับแสงกลางวัน ให้แสงสว่างสูง ออกไปในโทนสีฟ้า มองเห็นได้ชัด ให้ความรู้สึกสดใส กระฉับกระเฉง ตื่นตัว ประยุกต์ใช้กับการทำงานเป็นหลัก เช่น ห้องทำงาน ภายในออฟฟิศ สำนักงาน ห้องครัว หรือแม้แต่ห้องนอน ในมุมที่ต้องการแสงสว่างอย่างเพียงพอ อาทิเช่น มุมอ่านหนังสือ มุมทำงาน อาจเรียกได้ว่า เป็นชนิดหลอดไฟที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุดก็ว่าได้ เนื่องด้วยคุณสมบัติที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน สามารถนำไปใช้ได้ทุกๆงาน

3. คูลไวท์ (Cool White) โทนแสงระหว่าง วอร์มไวท์และเดย์ไลท์ เรียกได้ว่า หากใครต้องการความเป็นกลาง เลือกไม่ถูกระหว่าง 2 ตัวเลือกก่อนหน้านี้ คูลไวท์อาจเป็นอีกหนึ่งคำตอบได้เป็นอย่างดี ระดับแสงคูลไวท์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้ทุกรูปแบบ ทั้งภายในและภายนอก ลดความอุ่นของแสงสีส้ม และลดความสว่างของแสงเดย์ไลท์ ทำให้เกิดความสมดุล ลักษณะเป็นแสงสีขาวนวลตา

การเลือกซื้อหรือนำมาใช้งานจริง ก็ไม่ได้มีทฤษฎี หรือกฏเกณฑ์ใดตายตัว ขึ้นอยู่กับความชอบส่วน หรือ ความเหมาะสมในการใช้งาน โดยจะยกตัวอย่างในการใช้งานจริง ของหลอด LED T8 ที่ได้ไปติดตั้งการใช้งานที่ การบินไทย ศูนย์ลูกเรือ #cmlighting #LEDT8

ที่มาจาก : http://www.banidea.com/




วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

บริษัท ซีวิค มีเดีย จำกัด เพิ่มการลงทุนเครื่องจักร เพื่อขยายการผลิต





















บริษัท ซีวิค มีเดีย จำกัด ลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต และเพื่อตอกย้ำความสามารถในการวิจัย พัฒนา และผลิตโดยคนไทย
บริษัท ซีวิค มีเดีย จำกัด เพิ่มการลงทุนเครื่องจักร และเทคโนโลยีด้านการผลิต ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านการวิจัย พัฒนา และผลิตโดยฝีมือคนไทยด้วยประการณ์กว่า 24 ปี ในธุรกิจ LED เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจ LED และเพื่อก้าวเข้าสู่การเข้าเป็นผู้ให้บริการด้าน LED อย่างครบวงจร และเพื่อให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่ดีมีมาตรฐาน และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน ซึ่งปัจจุบันบริษัท ซีวิค มีเดีย จำกัด มีการผลิตและจำหน่ายป้ายโฆษณา LED (LED Full Color Screen), ป้ายไฟวิ่ง LED, หลอดไฟ LED T8 ( LED Tube ), โคมไฟถนน LED (LED Street Lighting) และกลุ่มผลิตภัณฑ์ LED อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งรูปแบบการผลิตเพื่อจำหน่ายให้ลูกค้าโดยตรง และการรับผลิตในรูปแบบ OEM
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงงานมาตรฐานด้าน LED Screen โรงงานแรกๆ ของประเทศ เมื่อปี 2549 ณ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของบริษัท ซีวิค มีเดีย จำกัด เพราะนอกจากจะมีการนำเข้าเครื่องจักรด้านการผลิตเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดเข้ามาเสริมทัพแล้ว ยังมีการขยาย Line การผลิตเพื่อรองรับการผลิตภัณฑ์กลุ่ม Lighting ที่บริษัทฯ จะเปิดตัวแบรนด์ “CM Lighting” อย่างเป็นทางการในปีนี้ด้วย หลังจากมีการแนะนำ หลอด LED T8 และ โคมไฟถนน LED เข้าสู่ตลาดมาตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าว่าในปี 2558 นี้จะสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่ม Lighting ครอบคลุมทุกรูปแบบเร็วๆ นี้
บริษัท ซีวิค มีเดีย จำกัด พร้อมให้การต้อนรับทุกท่านเข้าเยี่ยมชมโรงงาน และเปิดให้มีการเยี่ยมชมกระบวนผลิต การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ LED ในทุกกระบวนการก่อนการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า อย่างครบวงจรอีกครั้งใน เดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ติดต่อ: แผนกการตลาด
โทรศัพท์: 0-2688-0860 Ext.128
โทรสาร : 0-2688-0862
e-mail:marketing@civicmedia.com
วันและเวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 – 18.00 น.

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

หมวก LED รักษาโรคอัลไซเมอร์

หมวก LED รักษาโรคอัลไซเมอร์



ในปัจจุบันสังคมผู้สูงอายุมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปีไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคเอเชีย หรือโซนยุโรปตลอดจนอเมริกา โดยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) ถือเป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยแสดงอาการหลงลืมจนไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างได้ นอกจากผู้ป่วยจะเป็นปัญหาทางด้านสังคมแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตขึ้น แม้ในปัจจุบันทางองค์การอาหารและยาหรือ FDA ของอเมริกาได้มีการออกมายอมรับว่า ยา Memantine และ Cholinesterase inhibitors นั้นสามารถบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ก็ยังไม่สามารถเป็นยารักษาโรคที่ทำให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์หายขาดได้ นอกจากนั้นยาดังกล่าวยังส่งผลข้างเคียงให้กับผู้ป่วยอีกด้วย ในขณะที่การคิดค้นวิธีรักษาโรคอัลไซเมอร์นั้น ยังเป็นหัวข้อที่สำคัญที่ท้าทายนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในการแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ผศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ ผู้ช่วยอธิการบดีอาวุโสฝ่ายกิจการนานาชาติ และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล หัวหน้าทีมวิจัยสมาร์ทแล็บ (SMART LAB) และอาจารย์หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า  ปัจจุบันมีศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่งที่มีความน่าสนใจและยังเป็นแพทย์ทางเลือกสมัยใหม่อีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรค ซึ่งศาสตร์นี้มีชื่อว่า การบำบัดหรือรักษาด้วยแสงหรือ “Phototherapy โดยการบำบัดด้วยแสงนี้จะใช้แสงในช่วงความยาวคลื่นที่เหมาะสม ตั้งแต่ความยาวคลื่น 600 ถึง 1100 นาโนเมตร  ภายในเครื่องรักษานี้จะใช้หลอด LED เป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งแสงที่ใช้จะอยู่ในช่วงแสงที่มองเห็นได้จนถึงช่วงอินฟราเรด โดยในแต่ละช่วงของแสงนั้นจะส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกันออกไป อาทิเช่น แสงที่อยู่ในช่วงมองเห็นได้นั้นจะเพิ่มพลังงานระดับเซลล์และการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ ในขณะที่แสงในช่วงอินฟราเรด จะสามารถลดการเกิดโปรตีนเบต้าอมัยลอยด์ ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้” 
โดยทีมวิจัยได้ทำการศึกษาอิทธิพลของแสงต่อเซลล์ประสาทที่มีลักษณะคล้ายกับโรคอัลไซเมอร์ จนได้ความสัมพันธ์ของความยาวคลื่นจำเพาะ ความเข้มแสง พลังงานและรูปแบบการปลดปล่อยพลังงานที่เหมาะสมสำหรับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดเป็นต้นแบบของเครื่องรักษาโรคอัลไซเมอร์ด้วยเทคนิคด้านแสงขึ้น อย่างไรก็ดีงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เน้นนำไปใช้เพื่อป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งในขณะนี้อยู่ขั้นตอนการทดสอบในห้องปฏิบัติการซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีมากและจะถูกต่อยอดเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สามารถนำไปใช้รักษากับผู้ป่วยจริงได้ในอนาคตอันใกล้ 
ที่มาจาก http://www.pr.kmutt.ac.th/